ต้องบอกก่อนว่าผมไม่ได้เป็น Sale ขายเครื่องชั่งนะครับ ไม่ได้เชียร์ยี่ใดทั้งนั้น เพียงแต่มีโอกาสสัมผัสยี่ห้อนี้ก็เลยยกตัวอย่างที่ยี่ห้อนี้ ส่วนยี่ห้ออื่นๆ ผมไม่มีโอกาสจับก็ไม่รู้จะนำมาเสนอได้อย่างไร หากสนใจจะนำมาให้ทดลองก็ยินดี ก็แจ้งความจำนงกันมาได้
เปิดคู่มือไปดูที่หน้า 20 Function list จุดสนใจแรกคือ Prt : Data output mode
มีอยู่ 5 Modes ด้วยกัน ค่าเริ่มต้นจากโรงงานคือ 1 - Command and PRINT key เราสามารถส่งคำสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์มาสั่งเครื่องชั่งได้ ตัวอย่างเช่น การเซ็ต 0, การขอรับค่าจากเครื่องชั่ง, เป็นต้น และเครื่องชั่งจะส่งค่าออกไปภายนอก เมื่อเรากดปุ่ม PRINT ที่เครื่องชั่ง เรียกว่า ส่งค่าออกแบบ Manual ว่างั้นเถอะ
- Prt 0 : รับคำสั่งได้และส่งค่าออกมาต่อเนื่อง ประมาณ 10 ครั้งต่อวินาที
- Prt 1 : รับคำสั่งได้และส่งค่าออกมาเมื่อกดปุ่ม PRINT
- Prt 2 : รับคำสั่งได้และส่งค่าออกมาโดยอัตโนมัติเฉพาะค่าบวก เมื่อเครื่องชั่งอยู่ในสถานะ Stable
- Prt 3 : รับคำสั่งได้และส่งค่าออกมาโดยอัตโนมัติทั้งค่าบวกและลบ เมื่อเครื่องชั่งอยู่ในสถานะ Stable
- Prt 4 : รับคำสั่งและส่งค่าตามคำสั่งเท่านั้น
จุดที่สองคือ bPS : Baud rate ค่าเริ่มต้นจากโรงงานคือ 2400 bps ผมไม่เปลี่ยนค่าใดๆ ที่ตรงนี้ทั้งสิ้น แล้วก็อธิบายไม่ถูกว่ามันคืออะไร
ดูคู่มือหน้าต่อไป
จุดต่อไปคือ btPr : Data and parity ค่าเริ่มต้นของโรงงานคือ 0 = 7 bits, even parity ใช้ค่าเดิมๆ
จุดสนใจอีกจุดที่ต้องดูคือ Stop bit: 1 bit
และต่อด้วยสุดท้าย รูปแบบข้อมูลที่ส่งออกมาจากตาชั่ง ใครที่ติดตามตอน HyperTerminal ก็เริ่มจะร้องอ๋อ !! แล้วใช่ไหมครับ คุ้นๆ นะ ลองนับดูสิครับว่า ข้อมูล 1 ชุดมีกี่อักษระ เราจะใช้ส่วนนี้อีกครั้งตอนเขียนโปรแกรมรับค่าใน VBA. ของ MS Access และแยกเอาข้อมูลต้องการไปใช้
คราวนี้ใครที่ครั้งก่อนหน้านี้ ตอนทดสอบด้วย HyperTerminal ค่าไม่เหมือนกับ Data Format ลองกลับไปตั้งค่า ให้ถูกต้องก่อนนะครับ แล้วน่าจะประสบความสำเร็จในขั้นตอนนี้กันทุกคน หากใครมีข้อสงสัยหรือ Comment ก็ post ไว้นะครับ
สรุปค่าต่างที่ใช้ตั้งค่าพอร์ตคือ
ฺBaud rate : 2400 bps
Data and parity : 7 bits, even parity (E)
Stop bits : 1 bits
Data Format : จำนวนอักษระ 17 ตัวอักษร
คราวหน้าจะเข้าสู่ Access and VBA และ ActiveX ที่เราจะใช้ใน Project นี้กัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น